ว่ากันด้วยเรื่อง "เทคนิคการพูดสำหรับพิธีกร"
พิธีกร - ผู้ทำให้ภาพรวมของงานดูดี
- ผู้รักษาบรรยากาศของงานให้ราบรื่น
- ผู้ที่ดูสง่างามที่สุดในพิธีการ
- ผู้นำในพิธีการที่สำคัญ
หลักพิธีกร
1. ศึกษาข้อมูลของงานเพื่อเตรียมความพร้อม
2. ศึกษาลำดับพิธีของงาน
3. เตรียมสคริปต์ให้พร้อม
3. ขึ้นเวทีอย่างสง่างาม
4. กล่าวนำให้น่าสนใจ
5. ดำเนินการนำกิจกรรมและสร้างบรรยากาศงานให้น่าสนใจ
6. กล่าวปิดท้ายอย่างมีเทคนิค
ความกังวของพิธีกรมือใหม่ (ไม่หัดขับ)
1. มักมีอาการตื่นเต้น ประหม่า ขาดความมั่นใจ เมื่อต้องทำหน้าที่เป็นพิธีกร
2. ประสบปัญหาการใช้คำพูดที่เหมาะสม
3. ความกลัวจากการที่ไม่มีลีลาในการพูด
4. ขาดความรู้ที่เพียงพอในเรื่องที่พูด และไม่ทราบลำดับพิธี
5. เกิดความกลัวเรื่องบุคลิกภาพในการแสดงออกต่อที่ประชุมชน
สามารถแก้ไขได้ด้วยหลักการดังนี้
1. ตั้งจิตให้แจ่มใส ( เตรียมร่างกาย จิตใจ อุปกรณ์ต่าง ๆให้พร้อมก่อนออกเดินทาง)
2. ไปถึงก่อนเวลา ( เพื่อเตรียมตัว เตรียมเครื่องเสียง มีเวลาฝึกซ้อมก่อนขึ้นเวทีมากขึ้น)
3. อุ่นเครื่องแก้ประหม่า ( ซ้อมการพูดก่อนขึ้นเวที ฝึกตนเองเพื่อเพิ่มความมั่นใจ)
4. ทำหน้าที่สุดฝีมือ (ดำเนินรายการตามที่ฝึกมา อย่าให้เกิดอาการประหม่า)
5. ประเมินผลขาดไม่ได้ ( สำรวความเรียบร้อยของงาน ประเมิน Feedback ของผู้ฟัง)
ขั้นดำเนินการพูด
การพูดเปิดฉาก - ไม่ยืดยาว เข้าเนื้อหา พาจดจ่อ
การขยายความเนื้อหา - ยกตัวอย่าง เปรียบเทียบ ให้คำนิยาม บอกเหตุผล พรรณนาตรงจุด
การปิดฉากการพูด - คิดข้อความกระทัดรัด เป้่าหมายชัดเจน และเนื้อหาไม่คลาดเคลื่อน
วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
หลักในการเป็นพิธีกร
พิธีกร
(Master of Ceremony: MC)
ผู้นำในการดำเนินรายการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่ศึกษาและถูกฝึกฝนในด้านการพูดมาเป็นอย่างดี ซึ่งพิธีกรจะอาศัยความสามารถของตนในการพูดกำกับ และอำนวยการ หรือนำกิจกรรมต่างๆให้สามารถบรรลุเป้าหมาย แล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์ตามกำหนดการที่ได้วางเอาไว้
สิ่งที่พิธีกรต้องกระทำหลักๆ อธิบายดังนี้
1. กล่าวนำต้อนรับเข้าสู่กิจกรรมหรือพิธีการนั้นๆ โดยแจ้งรายละเอียดของงาน กิจกรรมที่จะทำพร้อมรายละเอียดอื่นๆ
2. กล่าวเริ่มต้นกิจกรรมหรือพิธีการนั้นๆ
3; กล่าวส่งเสริมและสร้างสีสันบรรยากาศของงานให้เป็นไปด้วยความราบรื่น
4. สามารถเสริมสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดแก่กลุ่มผู้คนที่มาร่วมงาน กิจกรรมนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี
5. แก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การนัดหมายของวิทยากรรับเชิญซึ่งอาจจะไม่ตรงตามที่วางแผนไว้ หรือคราวเปลี่ยนแปลงกำหนดการต่างของกิจกรรม
6. สำรวจสภาพของตนเองก่อนการทำหน้าที่ เพื่อหาข้อบกพร่องและรับการแก้ไข
พิธีกรหรือโฆษกผู้ประกาศ
ผู้ที่ดำเนินการพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ภายในกลุ่มคนในกิจกรรมหรือพิธีการหนึ่ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกลุ่มคนด้วยกัน
โฆษกพิธีกรคือผู้ที่ทำหน้าที่โดยใช้เครื่องมือสื่อสารต่าง ๆเช่น วิทยุ เอกสารต่างๆ ข้อมูลต่าง ๆที่สามารถนำมาใช้ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมหรือพิธีการขององค์กรได้ และยังเป็นผู้ควบคุมการดำเนินกิจกรรมหรือพิธีการให้เป็นไปอย่างราบรื่นอีกด้วย
การเป็นพิธีกรเป็นการหัดพูดในที่ประชุมชน ซึ่งจะมีผู้คนมาพบปะกันเป็นจำนวนมาก หลักสำคัญคือต้องมีท่าทีที่สง่างาม ระวังคำพูดที่อาจก่อความเสียหายแก่องค์กรและตนเอง
หลักพิธีกร
1. เตรียมพร้อม 2.ซ้อมดี
3. ท่าทีสง่า 3. หน้าตาสุขุม
4. ทักที่ประชุมอย่าวกวน 4. เริ่มต้นให้โน้มน้าว
5. เรื่องราวให้กระชับ 5. จับตาที่ผู้ฟัง
6. เสียงดังให้พอดี 7. อย่ามีเอ้ออ้า
8. ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลา
การเป็นพิธีกร ควรมีการเตรียมตัว ดังนี้
1. ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล เหตุการณ์เพื่อทราบความมุ่งหมายในหน้าที่
2. เตรียมคำพูดต่างๆ มุขแทรก ค ำคมให้พร้อม
3. ความเหมาะสมของบทความกับเวลานำเสนอต้องตรงกัน
4. ฝึกซ้อมตลอดเวลา
5. หาข้อมูลสถานที่จัดงานให้พร้อม
6. เตรียมเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายให้เหมาะสมกับพิธีการที่ต้องดำเนินการ
เทคนิคพิธีกรที่จำเป็น
1.ควรเตรียมพร้อมสภาพจิตใจก่อนทำหน้าที่ (ฝึกไม่ให้ประหม่าระหว่างดำเนินกิจกรรม)
2. ทำหน้าที่อย่างสุดความสามารถ
3. สำรวจบุคลิกภาพของตนเองและปรับปรุงเมื่อมีข้อผิดพลาด
4. ใช้ภาษาให้ชัดเจน ชัดถ้อยชัดคำ
5. มีทักษะในการประสานข้อมูลกับฝ่ายอื่นๆ ได้
6. สามารถสร้างความประทับใจด้วยสำนวนและสุภาษิต คำกลอนได้ตามความเหมาะสม
7. มีการแสดงออกอย่างร่าเริง เตรียมพร้อม และ active ตลอดเวลา
Name_QR Code
QR_Code กับชื่อของตัเอง
เข้าถึงได้จาก
<img src="http://qrcode.kaywa.com/img.php?s=8&d=%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%20%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87" alt="qrcode" />
วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
การนำเสนออย่างสร้างสรรค์ด้วยการแถลงข่าว
การแถลงข่าว
ในยุตการสื่อสารอย่างไร้พรมแดน การประชาสัมพันธ์ถือเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างมาก เพราะมีความรวดเร็ว คล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากที่สุด หนึ่งในการประชาสัมพันธ์ที่นิยมกันคือ การแลงข่าว
เป็นไปเพื่อการโฆษณาบริการและสินค้าของบริษัทตน
การแถลงข่าว คือ การสื่อสารรูปแบบหนึ่งผ่านถ้อยคำ วาทะ ที่ออกมาจากคำแถลงของผู้พูด (Spokeperson) แล้วแผ่ขยายไปในวงกว้างทั้งสื่อสารมวลชน นักข่าว คนทั่วไปหรือแม้กระทั่งระบบอินเตอร์เนต
ข้อดีของการสื่อสารด้วยการแถลงข่าวโดยหลักคือ ข้อมูลทุกอย่างที่ออกมาเป็นความจริง ตรงประเด็น เพราะออกมาจากตัวผู้แถลงเอง นอกจากนั้นข้อมูลไม่สามารถถูกตีแผ่ และวิจารณ์ผ่านสื่อมวลชนได้
รูปแบบการสื่อสารดังกล่าวได้แพร่กระจายไปยังสังคมระดับล่าง รวมทั้งนิสิตนักศึกษาทั่วไปได้นำเอาวิธีการนี้ไปใช้ในการนำเสนอผลงานของตนเองผ่านการสื่อสารโดยการแถลงข่าวกันมากขึ้น เพราะเป็นวิธีที่สะดวกและได้ข้อมูลตรงประเด็นมากที่สุด ข้อคิดสำคัญของการแถลงข่าวคือ การเตรียมการ การวางแผน และลงมือทำ
ขั้นตอนในการแถลงข่าว
1. เริ่มต้นที่ไหน?
เป็นการวางแผนกับตัวเองว่า หากท่านต้องการจะแถลงข่าวสักเรื่องหนึ่ง จะทำอย่างไร หาเป้าหมายการนำเสนอให้ได้ว่า ต้องการทำอะไร ทำที่ไหน ทำเพื่อใคร และทำอย่างไร
การวิเคราะห์ในส่วนของการแถลง วิีธีการทำอย่างไรบ้าง ต้องคำนึงถึงรูปแบบ ดังนี้
- การแถลงข่าวคนเดียว - การแถลงข่าวร่วมหลายคน
- แถลงแบบเป็นทางการ - แถลงแบบไม่เป็นทางการ
- แถลงในสถานที่ - แถลงนอกสถานที่
นอกจากนั้นยังต้องวิเคราะห์ทุกส่วน ทั้งฉากตกแต่งการแถลงข่าว สถานที่ ตัวประกอบ เครื่องแต่งกาย
รวมไปถึงสื่อที่นำมาประกอบการแถลงข่าว
2. เรียนรู้หลักการสำคัญที่ควรจำของการแถลงข่าว
- ควรมีการวางแผนงานแถลงข่าวล่วงหน้า 2-3 วันก่อนวันแถลงข่าว
- ตรวจสอบสิ่งอำวยความสะดวกให้กับผู้แถลงข่าว ทีมงาน และช่างกล้อง
- ตรวจสอบวันเวลาให้ตรงกันทั้งผู้แถลง ทีมงาน ช่างกล้อง และสื่อมวลชน
- ต้องทำความเข้าใจกับทีมงานถึงแผนการภายในงานให้เรียบร้อย
สิ่งที่ทีมงานแถลงข่าวต้องทำ?
- ช่วยตรวจสอบความเรียบร้อยของงานแถลงข่าวก่อนวันจริง
- รับมือให้ได้กับคำถามที่ไม่สมควรของผู้สื่อข่าว
- คำนึงถึงเป้าหมายขององค์กรเสมอ
- สร้างความสัมพันธ์อันดีกับสื่อมวลชน
* สิ่งสำคัญคือต้องจัดทำ ชุดแถลงข่าว (Press Kit) ดังนี้
- เอกสารข้อมูล
- โปสเตอร์ในที่ใช้นำเสนอ (ถ้ามี)
- แผ่นพับ (ถ้ามี)
- แผ่น CD ข้อมูล (ถ้ามี)
เพื่อแจกให้กับสื่อมวลชนที่มาในวันจริง และผู้ที่ไม่สามารถมาได้
สิ่งที่ควรทำก่อนวันแถลงข่าวจะมาถึง?
- ร่างหมายเชิญผู้สื่อข่าว พร้อมทำการโทรศัพท์ไปยืนยันก่อนวันแถลง 1-3 วัน
- เตรียมรายชื่อของสื่อที่จะเชิญชวนมาร่วมถ่ายทำด้วย
- ร่างคำแถลงข่าว ไม่ควรเกิน 10 นาที
- เดินทางมาถึงสถานที่แถลงข่าวก่อนเวลาเพื่อเตรียมการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
- นำข้อมูลทั้งหมดมาจัดทำชุดแถลงข่าว และประชาสัมพันธ์ให้เรียบร้อยก่อนวันแถลงข่าว
- ทำการเตรียมสถานที่ให้เรียบร้อยก่อนวันแถลงข่าว
คลิปวิดีโองานแถลงข่าว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)