ประวัติของ Power Point
โปรแกรมเอกสาร Power Point ได้รับการออกแบบเป็นครั้งแรก โดยอดีตนักศึกษาปริญญาเอกที่ชื่อว่า "บ๊อบ กัสกินส์ (ฺBob Guskins)" มหาวิทยาลัยแคลิฟอเนีย เบิร์กเลย์ USA
แนวคิดของเขาคือ โปรแกรมที่ใช้สำหรับการออกแบบสไลด์สำหรับการนำเสนออย่างง่ายๆ
สิ่งที่จำเป็นในการนำเสนอ Power Point
1. ทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
2.เวลาในการเรียนรู้ทักษะ
3. เครื่องฉายสไลด์
4. ความสามารถในการออกแบบ
รูปแบบในการทำสไลด์ Power Point ที่ดี
1. สไลด์มีรูปแบบ 35 mm.
2. วางแนวนอนและเว้นขอบกว้าง 0.5 นิ้ว
3. ใช้ Templates เริ่มต้นที่มีให้ในโปแกรม
4. วางสไลด์ให้อยู่ตรงกลาง
ลักษณะการใช้ตัวอักษรประกอบ
1. ใช้ข้อความแทนประโยค
2. ใช้ Keyword เพื่อเพิ่มความสนใจ
3. เมื่อข้อมูลมาก ควรจัดให้เป็นหัวข้อ
เทคนิคการใช้ภาพประกอบ
1. ภาพที่ใช้ต้องเกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่นำเสนอ
2. ทำตัวอักษรให้เงาเพื่อมองเห็นได้ชัด
3. ควรตัดอักษรในภาพถ้าไม่จำเป็น
4. ลดสิ่งที่ทำให้สไลด์เกิดความยุ่งเหยิง
5. ตัดภาพที่ทำให้ขนาดของไฟล์ใหญ่ขึ้น
การใช้ภาพในการนำเสนอด้วย Power Point
1. การใช้ภาพจำลอง
2. การใช้แผนภูมิ
3. การใช้กราฟ (Graph)
4. การใช้แผนภาพ Flow
5. การใช้ table (ตาราง)
แนวทางการออกแบบสื่อ Power Point
1. เนื้อหาสื่อถึงสิ่งที่ต้องการนำเสนอ
2. สไลด์ต่อหนึ่งความคิด
3. ชัดเจนและสะดวกต่อการอ่าน
4. เนื้อหาสมดุลและคงเส้นคงวา
5. ใช้ภาพประกอบถ้าจำเป็น
องค์ประกอบการนำเสนอ Power Point
1.ส่วน Introduction สิ่งที่จะนำเสนอ
2. ส่วนลำดับเนื้อหา
3. ส่่วนเนื้อหา
4. ส่วนสรุปการนำเสนอ
ลักษณะสีและตัวอักษร
1. พื้นมืด ตัวอักษรสว่าง
2. เงาของตัวอักษรต้องมืดกว่าสีพื้น
3. ตัวอักษรใหญ่ ชัดเจน อ่านง่าย
4.ควรมีตัวอักษรที่ใช้ 1-2 รูปแบบในงานนำเสนอหนึ่ง
5. ไม่ควรใช้ตัวอักษรตัดขอบ
6. เนื้อหาไม่ควรแน่นละเอียดเกิน
7. หลีกเลี่ยงตัวอักษรอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ทุกข้อความ
เทคนิคที่ควจำในการออกแบบ Power Point
* ชนิดตัวอักษรที่นิยมใช้ในการนำเสนอ Power Point
Cordia New , Time New Roman , Arial , AngsanaNew (หรือ UPC) ฯลฯ
* หัวเรื่องในการนำเสนอ ควรมีขนาด 60 point และเนื้อหาควรมีขนาด 36-50 point
* ไม่ควรมีความคมชัดมากเกินไป เพราะอาจมีผลกระทบต่อสายตาของผู้ฟัง
* บางครั้งความคมชัดก็สำคัญ แต่ควรจำไว้ว่า ห้ามใช้โทนพื้นสีขาว
การนำเสนอด้วย Power Point
1. เตรียมตัว ศึกษาข้อมูลเป็นอย่างดี
2. ศึกษาเทควิธีการนำเสนอข้อมูล
3. ศึกษาสภาพแวดล้อมโดยรอบของพื้นที่นำเสนอทั้ง จำนวนและผู้ฟัง พื้นที่ใช้ยืนนำเสนอ
4. สำรวจระบบเครื่องเสียงให้พร้อม
เทคนิคการควบคุมสไลด์
1. ปุ่มซ่อนจอภาพ B และ W
2. ข้ามไปยังสไลด์ที่ต้องการ " ตัวเลขตามด้วย ENTER"
3. Page up และ Page down ในการเลื่อนสไลด์ถัดไปและก่อนหน้า
4. ปิดการทำงานของ Screen Server เพื่อไม่ให้หน้าจอดับไปช่วงการนำเสนอ
5. ปรับความคมชัดของหน้าจอให้เหมาะสมกับความสว่างของห้องนำเสนอ
ข้อควรจำทั่วไป
1.ควรสำรองไฟล์นำเสนอใน Hard Disk ทุกครั้งเพื่อป้องกันการสูญหาย
2. ปิดการทำงานของระบบประหยัดพลังงานในคอมพิวเตอร์โน็ตบุ๊ค (หากใช้ในการนำเสนอ)
3. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรพิเศษที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปไม่รองรับ
4. ไม่ควรใช้มือหรือนิ้วในการชี้นำเสนอ ควรมีอุปกรณ์ เ่ช่น Pointer
5. ไม่ควรยืนบังหน้าจอเวลานำเสนอ ควรยืนข้างจอ
ข้อควรจำสำหรับเนื้อหาที่นำเสนอ
1. มีหัวเรื่องทุกสไลด์
2. เน้นตัวอักษรขนาดใหญ่และหลายรูปแบบ
3. Background ไม่ควรยุ่งเหยิง
4. ไม่ควรมีหัวข้อย่อยมากกว่า 6 หัวข้อต่อสไลด์
5. ควรลำดับความสำคัญของหัวข้อย่อย
6. ใช้กราฟเมื่อต้องการดูแนวโน้ม ความสัมพันธ์ และเปรียบเทียบ
7. เว้นช่องไฟของข้อมูล
8. เพิ่มข้อมูลที่ขาดหายเมื่อจำเป็น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น