วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การออกแบบโปสเตอร์เพื่อการนำเสนออย่างสร้างสรรค์

การออกแบบโปสเตอร์


    โปสเตอร์ (Poster) คือ แผ่นภาพโฆษณาหรือป้ายประกาศข่าวสารที่มีมาตั้แต่โบราณ มีลักษณะเป็น กระดาษแผ่นเดียวขนาดต่างๆ แล้วแต่ผู้ออกแบบ นิยมติดตามเสาไฟฟ้า กำแพง หรือสถานที่ต่างๆ  เพื่อใช้โฆษณาผลิตภัณฑ์หรือกิจกรรมต่างๆ ของผู้ออกแบบ
     ตั้งแตอดีต โปสเตอร์ก็มีการพัฒนามาเรื่อยจนถึง ค.ศ. 1960 - 1970 โปสเตอร์ได้เข้าไปมีความสำคัญในงานออกแบบ งานส่งเสริมการท่องเที่ยว งานส่งเสริมการศึกษา และเกี่ยวกับดนตรี และในตะวันตกยังเกิดค่านิยมการสะสมโปสเตอร์ที่เกี่ยวกับดารานักร้องไว้เป็นของสะสมภายในบ้านอีกด้วย
     จากอดีตจนถึงปัจจุบัน โปสเตอร์มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นช่องทางวิธีการสื่อสารที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด

ประโยชน์ของโปสเตอร์
    1. เครื่องมือในการโฆษณาต่างๆ  ทั้งด้านดนตรี การแสดง ภาพยนตร์ และการศึกษา
    2. เป็นอุปกรณ์ในการนำเสนอผลงาน และสื่อการสอน
   
ลักษณะของโปสเตอร์ที่ดี
    1. รูปภาพต้องสอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้
    2. เด่นชัด มองเห็นและสะดุดตา
    3. ข้อความสั้นกระชับและได้ใจความ
    4. รูปภาพเร้าความสนใจและชวนติดตาม
    5. สื่อความหมายตามวัตถุประสงค์
    6. เนื่อหาแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์
    7. มีขนาดใหญพอที่จะมองเห็นในระยะไกล
    8. นำเสนอข้อมูลเพียงเรื่องเดียวและควรให้ตรงประเด็นด้วย
   
ส่วนประกอบของโปสเตอร์
    1. ข้อความพาดหัว                           3.รูปภาพประกอบ
    2. รายละเอียด                                4. คำขวัญหรือสโลแกนจูงใจ
    5. โลโก้หน่วยงาน และอื่นๆ

ขั้นตอนการออกแบบโปสเตอร์
   1. ศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์เนื้อหา
   2. อกกแบบร่างโปสเตอร์จากข้อมูลที่มีอยู่
   3. เลือกรูปแบบและการวางผัง (Layout) ให้เหมาะสมกับงาน
   4. วางแบบ Layout ที่สร้างไว้ลงบนหน้ากระดาษ พร้อมทั้งพิจารณาถึงความเหมาะสมในการเพิ่มเติมส่วนประกอบอื่นๆ ตามต้องการโดยใช้องค์ประกอบศิลป์
   5. พิจารณากำหนดลักษณะของงาน เช่น กำหนดลักษณะตัวอักษรให้เหมาะกับการนำเสนอ 
   6. นำมาสร้างเป็น Artwork (แบบฉบับเหมือนจริง) โดยสามารถใช้โปรแกรมช่วยสร้างได้ เ่ช่น Adoe Indesign หรือ Adobe Illustrater
   7. ตรวจทาน ตรวจสอบความถูกต้องทุกส่วนของโปสเตอร์
   8. แก้ไขรายละเอียด หากผิดพลาด ถ้าไม่มีข้อผิดพลาดให้นำส่งโรงพิมพ์ได้เลย

หลักการออกแบบโปสเตอร์
   1. ตัวอักษรต้องตัดกับพื้นหลัง
   2. ข้อความต้องกระชับ ได้ใจความ ไม่แน่นหนาจนเกินไป
   3. ควรใช้ทฤษฏีสีและหลักในการออกแบบควบคู่กันไป
   4. เว้นระยะห่างจากขอบ 0.5 cm.       5. ภาพควรมีความเหมาะสมกับเนื้อหา

การเลือกกระดาษพิมพ์ โดยส่วนมากแล้วจะพิจารณาจาก
   1. งบประมาณ                               2. จำนวนโปสเตอร์ที่สั่งพิมพ์
   3. ระบบของเครื่องพิมพ์ (ทำให้พิจารณาออกแบบโปสเตอร์ได้เหมาะสมกับระบบ)
   4. วัตถุประสงค์ในการนำไปใช้

หลักการผลิตงานพิมพ์โปสเตอร์
   1. โปสเตอร์ตามหลักแล้วจะมีแผ่นเดียวและหน้าเดียว
   2. ขนาดงานพิมพ์ (สำหรับ A4 คือ 8.25 x 11.75 
   3. การพิมพ์โปสเตอร์นิยมใช้กระดาษปอนด์ 100 แกรมขึ้นไป หรือกระดาษอาร์ตมัน 120 แกรมขึ้นไป
   4. นิยมใช้สีตั้งแต่ 4 สีขึ้นไปหรือมากกว่า หรือไม่ก็ใช้ระบบแม่สี (4 สี :CMYK)
   5. มักทำการพิมพ์ด้วยระบบอิงก์เจ็ท ออฟเซ็ท หรือแบบดิจิตอล
   6. สามารถทำการตกแต่ง เพิ่มสี หรือเคลือบเงาหรือใส่ฟรอยด์ได้ตามความเหมาะสม
   7. สามารถปั๊มไดคัท (die-cut) ให้เป็นรูปทรงต่าง ๆได้
   8. มีระบบการบรู๊ฟงานพิมพ์โปสเตอร์จากโรงงานพิมพ์ได้ หรือทำการส่งผ่าน Fax 
   9. โปสเตอร์จะมีการส่งมอบให้ลูกค้าหลังจากการทำการบรู๊ฟแล้ว 3-5 วัน


การใช้โปรแกรม Windows Movie Maker กับสื่อสร้างสรรค์

วิธีการใช้โปรแกรม Windows Movie Maker
    
     โปรแกรม windows Movie Maker เป็นโปรแกรม Freeware ที่แถมมาให้กับระบบปฏิบัติการ Windows ตั้งแต่ SP2 ขึ้นไป โปรแกรมดังกล่าวมีความสามารถในการทำงานเทียบเท่ากับโปรแกรมสร้างตัดต่อวิดีโออย่าง Adobe Premiere ของบริษัทในเครือ Adobe
     ความสามารถในการทำงานของโปรแกรม
    1รองรับไฟล์ประเภท ภาพนิ่ง audio, video และ video จาก กล้อง digital, Video
   2. ตัดต่อหนังได้ตามความต้องการ โดยมีการแบ่งไฟล์ เป็น Movie Clip เล็ก ๆ
   3. เพิ่มเติมภาพนิ่งเข้าไปเป็นฉากเริ่มต้น (title) ได้
   4. ปรับแต่งความนุ่มนวลของภาพ ด้วยการซ้อน Movice Clip แต่ละอันเข้าด้วยกัน
   5. เปลี่ยนเสียงจากต้นฉบับมาเป็นเสียงของคุณเองได้ตามต้องการ
   6. บันทึกเป็นไฟล์ วีดีโอ ด้วยคุณสมบัติหลากหลายแบบ
        ความต้องการของระบบ
    1. ระบบปฏิบัติการ widows XP หรือ ME
    2. คามเร็ว CPU ที่ 300 MHz  Pentium II หรือสูงกว่า
    3. ความจุ RAM  ที่ 64 MB
    4. พื้นที่ว่าง Harddisk 2 GB
    5. รองรับการ์ดเสียง
    6. รองรับการ์ด VDO หรือ VGA Gard

Windows Movies Maker สำหรับ OS ต่างๆ
OS Windows XP

OS Windows 7


วิีธีการใช้งานเบื้องต้น
    1. เข้าโปรแกรม Windows Movie maker ผ่าน Menu Start (เริ่มต้น) 
    2. เลือกภาพที่ต้องการจะนำมาตัดต่อโดยเลือกที่ Import Pictures แท็บด้านซ้าย
    3. เลือกไฟล์ภาพที่ต้องการจะนำมาตัดต่อ แล้วคลิก Import
    4. ภาพจะปรากฏที่ show storyboard ลากนำมาวางไว้ในช่องของ Video
    
    5. เราสามารถเลือก Video Effect ได้ โดยคลิกเมาส์ซ้ายที่ภาพที่ต้องการจะตัดต่อแล้วเลือก Vieo Effect แล้วเลือก Effect ที่ต้องการ กด Add แล้วกด OK เพื่อเลือก Effect ของภาพ
    6. การใส่ Video Transition หรือเปลี่ยนลักษณะการแปลงภาพจากภาพหนึ่งไปยังอีกภาพหนึ่ง ทำได้โดย คลิกเลือก Video Transition ที่หน้าจอโปรแกรม แล้วเลือก Transition ที่ต้องการจะเปลี่ยนภาพ แล้วเลาก Transition นั้นไปวางระหว่างภาพทั้งสองภาพที่จะตัดต่อในส่วนของ Timeline ด้านล่าง

    6. การนำำำไฟล์เพลงมาใช้ในการตัดต่อวิดีโอก็สามารถทำได้โดยคลิกที่ Menu Import Music แล้ว Import ไฟล์เพลงที่ต้องการจะตัดต่อลงจะปรากฏบน collection ด้านบน  ให้ลากลงมาไว้ที่ Timeline ด้านล่าง ไปยังช่อง Audio Music ดังรูป

       6. การแทรกข้อความลงในภาพที่ต้องการตัดต่อทำได้โดยเลือกที่ Menu Titles or Cardits  
       7. ปรากฏหน้าจอรูปแบบให้เืลือก เลือกที่ Titled on the select clip 
       8. พิมพ์ข้อความที่้ต้องการให้แสดงแล้วเืลือกที่ Menu edit title text แ้ล้วแก้ไขรูปแบบ text ตามต้องการ 
       9. เลือกที่ Menu Change the text font and color เพื่อเลือกรูปแบบอักษร ขนาดอักษร สีตัวอักษร    ทั้งหมดดังรูป
ข้อ 6 ด้านบน

ข้อ 7 ด้านบน

ข้อ 8 ด้านบน
ข้อ 9 ด้านบน

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การผลิตภาพยนตร์สั้น

หนังสั้น หรืภาพยนตร์สั้น
      หมายถึง สื่อ หรือเรื่องราวที่นำเสนอให้เห็นถึงประเด็นต่างๆ เป็นระยะเวลาอันสั้นประมาณ 5-10 นาที ลักษณะบทจะมีขึ้นและจบลงอย่างรวดเร็วแต่ได้ใจความ
การผลิตหนังสั้นมีขั้นตอนที่สำคัญ 3 ข้นตอน ดังนี้
1. เตรียมการผลิต (Pre Production)
    จะประกอบไปด้วยการตั้งและวิเคราะห์ปัญหาที่จะนำเสนอ การวิเคราะห์เรื่องราว การเขียนบทและเริ่มลงมือถ่ายทำ
2. ผลิตหนังสั้น (Production)
    เป็นการถ่ายทำวิดีทัศน์ตามบทที่ได้วางไว้ ซึ่งต้องเน้นความถูกต้องและครบถ้วน
3. หลังการผลิต (Post Production)
    เป็นขั้นตอนของการตัด่อภาพให้ตรงกับบทที่เขียนไว้และปรับแต่งตามความเหมาะสม  ซึ่งต้องใช้ความละเอียด ความรอบคอบเป็นย่างมาก
4. ประเมินผล (Evaluation)
    ขั้นตอนสุดท้ายที่เราจะนำเอาวิดีทัศน์ที่ถ่ายทำไว้ไปลองใช้กับบุคคลอื่นๆ เพื่อหาข้อแก้ไขของงาน
5. เผยแพร่
   การนำวิดีทัศน์ที่ทำไว้ออกเผยแพร่ให้กับบุคคลทั่วไป แล้วน้อมรับคำติชมมาแก้ไขในงานต่อไป

บทวิดีทัศน์ = ข้อมูลหรือรายละเอียดในการถายทำที่ได้ถูกเขียนขึ้น เพื่อให้ทราบแนวทางในการถ่ายทำ ทำให้สื่อความหมายได้ตรงตามต้องการ

จุดมุ่งหมายของการเขียนบทวิดีทัศน์หลักๆ คือ การกำหนดรูปแบบและบ่งบอกเนื้อหาของเอกสาร และเพื่อเป็นการวางระเบียบให้กับเรื่องที่จะถ่ายทำ  ทำให้ถ่ายทำได้ตรงกับความต้องการ

บทโทรทัศน์ (บทวิดีทัศน์) มี 4 ประเภท ดังนี้
 1. บทโทรทัศน์สมบูรณ์แบบ - ลักษณะของบทที่บอกรายละเอียดในทุกส่วนที่สร้างขึ้น  เพื่อให้สามารถมองภาพงานได้ชัดขึ้น
 2. บทโทรทัศน์กึ่งสมบูรณ์ - เนื้อเรื่องจะบอกรายละเอียดบางอย่างเอาไว้  แต่ยังไม่หมดสิ้น เป้าหมายเพื่อการทำงานที่ราบรื่น
 3.บทกล่าวเฉพาะรูปแบบ - บทที่จะบอกพียงแต่คำสั่งต่างๆในส่วนสำคัญ ซึ่งจะทำให้ทุกฝ่ายรู้คิวในการถ่ายทำ
 4. บทกล่าวเฉพาะแบบร่างกำหนดการ รูปแบบนี้จะแสดงรายละเอียดเฉพาะโครงร่างโดยรวมตั้งแต่ต้นจนจบเท่านั้น

แนวทางการเขียนบทวิดีทัศน์ จำ 5 หลักการดังนี้
- who กลุ่มเป้าหมายที่เขียนถึง
- why  วัตุประสงค์ของเนื้อหาที่นำเสนอ
- what -ขอเขตเนื้อหาที่กล่าวถึง
- how เทคนิคการนำเสนอที่ดูน่าสนใจ
- when ช่วงเวลาการออกอากาศ
- where สถานที่ถ่ายทำ

ลำดับขั้นของการเขียนบท
1. ศึกษาแผนการผลิต เพื่ือให้ทราบเป้าหมายในการผลิตสื่อที่แน่นอน และวิเคราะห์พื้นฐานผู้ชม และด้านอื่นๆ
2. ค้นคว้า รวบรวมข้อมูล ข้อมูลเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้งานน่าเชื่อถือ สร้างสรรค์และน่าสนใจ
3. เขียนโครงเรื่องจากข้อมูลที่หามาได้
4. ประชุมเพื่อตัดสินใจเห็นชอบโครงเรื่อง
5. ตรวจสอบและแก้ไขขโครงร่างบทที่เขียนขึ้น โดยแนะนำว่าต้องนำโครงบทที่เขียนให้กับผู้รู้และผู้สนใจในเรื่องดังกล่าวอ่านด้วย

องค์ประกอบสำคัญของบทวิดีทัศน์
1. ส่วน Introduct  แนะนำเรื่อง
2. ส่วนดำเนินเรื่อง
3.ส่วนแก่นเรื่อง หรือ Climax
4.ส่วนสรุปเนื้อหา

เทคนิคและหลักการในการเขียนบทที่ดี
1. ควรมีแก่นเรื่องหรือจุด Climax
2. วาง Out Line เหมาะสมน่าสนใจติดตาม
3. รูปแบบโครงที่เหมะสมกับเนื้อหา
4. ภาษาสละสลวย เข้าใจง่าย
5. ภาพและเสียงมีความสัมพันธ์และต่อเนื่องกัน
6. ความยาวเเรื่องต้องสัมพันธ์กับเวลาที่มีอยู่
7. ประสานแนวคิดกับเจ้าของเรื่องเพิื่อทำให้เรื่องมีความสมจริงและสมบูรณ์
8. ผู้เขียนบทสังเกตเวลาถ่ายทำ หากภาพและเสียงไม่ตรงกับที่วางไว้ ได้ปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม
9. ประเมินผลงานหลังถ่ายทำเสร็จ


3.

5.

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

จิตวิทยาสีกับการออกแบบและนำเสนอ

กล่าวเบื้องต้นเกี่ยวกับสี
      สีทั่วไปที่มนุษย์ใช้มาจาก
      1. สสารทั่วไปตามธรรมชาติ ที่ถูกสกัดออกมา และนำมาใช้โดยตรง
      2. สสารที่ได้จากกระบวนการทางเคมี  กระบวนทางวิทยาศาสตร์
      3. การให้พลังานทางแสง ซึ่งออกมาในรูปของรังสี
ความสำคัญของสี
      1. สีใช้จำแนกสิ่งต่าง ๆให้ชัดเจนขึ้น
      2. ใช้จัดองค์ประกอบทำให้เกิดความสวยงาม
      3. ใช่ในการจัดกลุ่ม
      4. ใช้สื่อความหมาย 
      5. ใช้ในการสร้างงานศิลปะ
ความหมายของสีในมุมมองของมนุษย์
      สีดำ : แสดงถึงความอบอุ่น ความร้อนแรง ประดุจดั่งดวงอาทิตย์ และยังแสดงถึงความรัก ความ  ปรารถนาดี และความหมายในแง่ลบ แสดงถึง สงคราม เลือดตกยางออก
      สีเขียว : แสดงถึงธรมชาติ ความสวยงามของสภาพแวดล้อม สัญลักษณ์ของการเกษตรกรรม  ความหมายในแง่ลบคือ ความเป็นพิษ
      สีเหลือง : แสดงถึงความสดใส เบิกบาน ความรุ่งโรจน์ ความั่งคั่ง ความเจิดจ้าทางปัญญา ความหมายในแง่ลบคือ โรดระบาด และความเจ็บป่วย
      สีน้ำเงิน : ความสุขุม ความหนักแน่น ความองอาจ และเป็นสัญลักษณ์แทนพื้นน้ำ
      สีม่วง : ความสว่าง ความปรอดโปร่ง ความเป็นอิสระเสรี  ความคิดสร้างสรรค์
      สีทอง : ความสำคัญของสิ่งต่าง ๆความสูงศักดิ์ ราคาแพง ของหายาก (เ้ช่นทอง) ความโอ่อ่า หรูหรา อลังการ  เป็นสัญลักษณ์ของเครื่องประดับยศขุนนางสมัยก่อน
      สีขาว : ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความว่างเปล่า ความไร้เดียงสา (เด็กทารก)  ความศรัทธา  ความหมายในทางลบคือ ความอ่อนแอ การยอมแพ้
      สีดำ : ความลึกลับ ความสิ่นหวัง  ความมืดมนของสิ่งรอบตัว การฆ่า ความชั่วร้าย ความหมายในแงดีคือ ความอดทน ความกล้าหาญ
      สีชมพู : ความอบอ่น  ความอ่อนหวาน ความนุ่มนวล โรแมนติก อาการปลอบประโลม เป็นสัญลักษณ์ขงความรักในวัยรุ่น

ระบบของสี 
      แม่สีพื่นฐานของสีทุกสีคือ สีแดง  สีเขียว  สีน้ำเงิน
                     วรรณะของสี
      สีมี 2 วรรณะคือ สีโทนร้อน และสีโทนเย็น ดังนี้
     1. สีโทนร้อน : แดง แดงแกมม่วง เหลือง ส้ม เขียว เขียวอมเหลือง
     2. สีโทนเย็น : น้ำเงิน น้ำเงินอ่อน ฟ้า และสีเขียว
     สีโทนร้อนจะให้ความอบอุ่น ส่วนสีโทนเย็นจะให้รู้สึกความสบาย
                โดยมีการแบ่งสีตรงกลางที่ สีม่วงกับสีเหลือง


การใช้สีตามหลักการใช้สี
        1. การใช้สีเพื่อให้สีแต่ละสีประสานกลมกลืนกัน
        2. การใช้สีแต่ละสีเพื่อให้ประสานส่งเสริมกัน
        
การสร้างความกลมกลืนโดยการใช้สีใกล้เคียง
       คือสีที่อยู่ใกล้กันในวงจรของสีซึ่งสามารถกำหนดให้เป็นสีใกล้เคียงได้
การสร้างความกลมกลืนโดยใช้สีคู่ผสม   
      สีที่ผสมกันแล้ว 2 สีจะได้สีใหม่ (สีที่สาม)  เช่นสีแดงกับสีเหลืองจะได้สีส้ม
การสร้างความกลมกลืนโดยลักษณะการใช้สีเอกรงค์ 
     ลักษณะจะเป็นการใช้สีสีเดียว โทนเดียวในการสร้างงานขึ้นมา อาจมีปนสีอืนมาบ้าง แต่ก็ให้อยู่ในระดับน้อย

การกลับค่าของสี
     ในการที่ภาพกลมกลืนกันนั้นจะมีบางครั้งที่งานออกมาดูจืดชืด การกลับค่าของสีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการออกแบบ ซึ่งการสร้างความขัดแย้ง  จะทำให้ภาพออกมาน่าสนใจ

ศึกษาแหล่งข้อมูลเพิ่มเิติม
http://www.prc.ac.th/newart/webart/colour01.html
สามารถ Download PDF File ศึกษาได้ที่
www.math.cmru.ac.th/newweb/Download/A2496-93-84-00001.pdf




วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การออกแบบสื่อด้วย Power Point

ประวัติของ Power Point
     โปรแกรมเอกสาร Power Point ได้รับการออกแบบเป็นครั้งแรก โดยอดีตนักศึกษาปริญญาเอกที่ชื่อว่า   "บ๊อบ กัสกินส์ (ฺBob Guskins)" มหาวิทยาลัยแคลิฟอเนีย เบิร์กเลย์ USA
     แนวคิดของเขาคือ โปรแกรมที่ใช้สำหรับการออกแบบสไลด์สำหรับการนำเสนออย่างง่ายๆ

     สิ่งที่จำเป็นในการนำเสนอ Power Point
     1. ทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
     2.เวลาในการเรียนรู้ทักษะ
     3. เครื่องฉายสไลด์
     4. ความสามารถในการออกแบบ

รูปแบบในการทำสไลด์ Power Point ที่ดี
     1. สไลด์มีรูปแบบ 35 mm.
     2. วางแนวนอนและเว้นขอบกว้าง 0.5 นิ้ว
     3. ใช้ Templates เริ่มต้นที่มีให้ในโปแกรม
     4. วางสไลด์ให้อยู่ตรงกลาง

ลักษณะการใช้ตัวอักษรประกอบ
     1. ใช้ข้อความแทนประโยค
     2. ใช้ Keyword เพื่อเพิ่มความสนใจ
     3. เมื่อข้อมูลมาก ควรจัดให้เป็นหัวข้อ

เทคนิคการใช้ภาพประกอบ
     1. ภาพที่ใช้ต้องเกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่นำเสนอ
     2. ทำตัวอักษรให้เงาเพื่อมองเห็นได้ชัด
     3. ควรตัดอักษรในภาพถ้าไม่จำเป็น
     4. ลดสิ่งที่ทำให้สไลด์เกิดความยุ่งเหยิง
     5. ตัดภาพที่ทำให้ขนาดของไฟล์ใหญ่ขึ้น

การใช้ภาพในการนำเสนอด้วย Power Point 
     1. การใช้ภาพจำลอง
     2. การใช้แผนภูมิ
     3. การใช้กราฟ (Graph)
     4. การใช้แผนภาพ Flow
     5. การใช้ table (ตาราง)
   
แนวทางการออกแบบสื่อ Power Point
     1. เนื้อหาสื่อถึงสิ่งที่ต้องการนำเสนอ
     2. สไลด์ต่อหนึ่งความคิด
     3. ชัดเจนและสะดวกต่อการอ่าน
     4. เนื้อหาสมดุลและคงเส้นคงวา
     5. ใช้ภาพประกอบถ้าจำเป็น


องค์ประกอบการนำเสนอ Power Point
     1.ส่วน Introduction สิ่งที่จะนำเสนอ
     2. ส่วนลำดับเนื้อหา
     3. ส่่วนเนื้อหา
     4. ส่วนสรุปการนำเสนอ

ลักษณะสีและตัวอักษร
     1. พื้นมืด ตัวอักษรสว่าง
     2. เงาของตัวอักษรต้องมืดกว่าสีพื้น
     3. ตัวอักษรใหญ่ ชัดเจน อ่านง่าย
     4.ควรมีตัวอักษรที่ใช้ 1-2 รูปแบบในงานนำเสนอหนึ่ง
     5. ไม่ควรใช้ตัวอักษรตัดขอบ
     6. เนื้อหาไม่ควรแน่นละเอียดเกิน
     7. หลีกเลี่ยงตัวอักษรอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ทุกข้อความ
     เทคนิคที่ควจำในการออกแบบ Power Point 
  * ชนิดตัวอักษรที่นิยมใช้ในการนำเสนอ Power Point
        Cordia New , Time New Roman , Arial , AngsanaNew (หรือ UPC) ฯลฯ
  * หัวเรื่องในการนำเสนอ ควรมีขนาด 60 point และเนื้อหาควรมีขนาด 36-50 point
  * ไม่ควรมีความคมชัดมากเกินไป เพราะอาจมีผลกระทบต่อสายตาของผู้ฟัง
  * บางครั้งความคมชัดก็สำคัญ แต่ควรจำไว้ว่า ห้ามใช้โทนพื้นสีขาว

การนำเสนอด้วย Power Point
     1. เตรียมตัว ศึกษาข้อมูลเป็นอย่างดี
     2. ศึกษาเทควิธีการนำเสนอข้อมูล
     3. ศึกษาสภาพแวดล้อมโดยรอบของพื้นที่นำเสนอทั้ง จำนวนและผู้ฟัง พื้นที่ใช้ยืนนำเสนอ
     4. สำรวจระบบเครื่องเสียงให้พร้อม

เทคนิคการควบคุมสไลด์
     1. ปุ่มซ่อนจอภาพ B และ W
     2. ข้ามไปยังสไลด์ที่ต้องการ " ตัวเลขตามด้วย ENTER"
     3. Page up  และ Page down ในการเลื่อนสไลด์ถัดไปและก่อนหน้า
     4. ปิดการทำงานของ Screen Server เพื่อไม่ให้หน้าจอดับไปช่วงการนำเสนอ
     5. ปรับความคมชัดของหน้าจอให้เหมาะสมกับความสว่างของห้องนำเสนอ
 
ข้อควรจำทั่วไป
     1.ควรสำรองไฟล์นำเสนอใน Hard Disk ทุกครั้งเพื่อป้องกันการสูญหาย
     2. ปิดการทำงานของระบบประหยัดพลังงานในคอมพิวเตอร์โน็ตบุ๊ค (หากใช้ในการนำเสนอ)
     3. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรพิเศษที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปไม่รองรับ
     4. ไม่ควรใช้มือหรือนิ้วในการชี้นำเสนอ ควรมีอุปกรณ์ เ่ช่น Pointer
     5. ไม่ควรยืนบังหน้าจอเวลานำเสนอ ควรยืนข้างจอ
ข้อควรจำสำหรับเนื้อหาที่นำเสนอ
     1. มีหัวเรื่องทุกสไลด์
     2. เน้นตัวอักษรขนาดใหญ่และหลายรูปแบบ
     3. Background ไม่ควรยุ่งเหยิง
     4. ไม่ควรมีหัวข้อย่อยมากกว่า 6 หัวข้อต่อสไลด์
     5. ควรลำดับความสำคัญของหัวข้อย่อย
     6. ใช้กราฟเมื่อต้องการดูแนวโน้ม ความสัมพันธ์ และเปรียบเทียบ
     7. เว้นช่องไฟของข้อมูล
     8. เพิ่มข้อมูลที่ขาดหายเมื่อจำเป็น




 

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความคิดสร้างสรรค์กับการออกแบบ 28-11-2554

พื้นฐานของความคิดสร้าสรรค์: ความคิด : ความหมายในทรรศนะของนักปรัชญาท่านต่างๆ
หลอดไฟคือสัญลักษณ์ไอเดียที่สร้างสรรค์
     
     บรูโน = กระบวนการทางสมองที่ใช้สัญลักษณ์ จินตภาพ ความเห็น และความคิดรวบยอด แทนประสบการณ์ในอดีต และความเป็นไปได้ ความคิดจึึงมีลักษณะเป็กระบวนการในด้านต่างๆ เช่น ตรรกศาสตร์ จินตนาการ  หรือภาษา
     ฮิลการ์ด = พฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสมองอันเนื่องมาจากการใช้สัญลักษณ์มาแทนสิ่งของหรือเหตุการณ์ต่างๆ
     สรุปความหมายของความคิด
     กระบวนการหนึ่งของสมองที่ใช้สัญลักษณ์ ความคิด มาแทนสิ่งของหรือเหตุการณ์ต่างๆ แล้วนำมาประมวลออกมาในรูปแบบของความคิดทางตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์ จินตนาการหรือ ภาษา

     ความคิดสร้างสรรค์
     กระบวนการหรือความสามารถทางสมองที่บุคคลมีความไวต่อกลวิธีต่างๆ ความคิด กรแยกแยะ หรือแม้แต่การแก้ไขปัญหาต่างๆ
     ในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ กิลฟอร์ด ได้กล่าวถึงความหมายและแ่บ่งแยกองค์ประกอบเอาไว้ดังนี้
   
     ความสามารถของสมองในการคิด ซึ่งแบ่งองค์ประกอบของความสามารถออกได้เป็น  4 อย่างคือ
      1.ความริเริ่มสร้างสรรค์
      2.ความคล่องในการคิด
      3.ควายืดหยุ่นในการคิด
      4.ความสามารถในการแต่งเติม
      5.ความสามารถในการให้คำอธิบายใหม่ที่เป็นการติดตามหลักเหตุผลพื่อหาคำตอบที่ถูกต้องเพียง
         คำตอบเดียว
      กิลฟอร์ดมีความเชื่อว่า องค์ประกอบที่สำคัญของความคิดสร้างสสรค์คือความคิดริเริ่ม และความคิดสร้างรรค์ไม่ได้เป็นพรสวรรค์ที่บุคคลมี แต่เป็นความสามารถในตัวบุคคลที่มีมากน้อยไม่เ่ทากันและยังแสดงออกไม่เหมือนกันด้วย

      ความคิดสร้างสรรค์มีองค์ประกอบคือ
      1.ความคิดริเริ่ม (Originality) ความคิดดัดแปลง ความคิดประยุกต์
      2.ความคิดคล่องตัว (Fluency) ความคิดที่รวดเร็วและไวต่อสิ่งต่างๆ
      3.ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) ความคิดอิสระ ความคิดหลากหลายแบบ
      4.ความคิดสวยงาม ละเอียดละออ (Elaboration) ควมคิดคุณภาพดี สวยงาม รอบคอบ ประณีต    สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาสม

      ความคิสร้างสรรค์มีประโยชน์มากมาย สรุปได้ดังนี้
      1. ความคิดสร้างสรรค์ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ
      2. ความคิดสร้างสรรค์ทำให้ชีวิตเป็นเรื่องสนุก (ชีวิตไม่จำเจ)
   
ความคิดที่ไม่คล่องตัว
      และที่สำคัญ คามคิดสร้างสรรค์ยังมีความสัมพันธ์กับการออบแบบและการนำเสนอซึ่งก็คือ
      "องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ทั้ง  4 ประการสามารถนำไปสู่การออกแบบเพื่อการนำเสนออย่างสร้างสรรค์ ซึ่งจะทำให้ผลงานที่ออกแบบมีประสิทธิภาพและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้"