วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การสื่อสารกับทฤษฏีการสื่อสาร 28-11-2554

ความหมายของการสื่อสาร 
     กระบวนการหนึ่งในการถ่ายทอดเรื่องราว ความคิด ความต้องการ ความคิดเห็น และความรู้สึกไปเพื่อไปสู่ผู้ัฟังผ่านช่องทาง (Channel) และสื่อต่างๆ
     การสื่อสารมีปัจจัยพื้นฐานเริ่มต้นมาจากการที่มนุษย์ที่ถือว่าเป็นสัตว์สังคม และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสื่อสารเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน
    วิธีการสื่อสาร อาจแบ่งได้ป็น 3 รูปแบบคือ
    1. การสื่อสารด้วยวาจา (Oral)
    2. การสื่อสารที่ไม่ใช่วาจา (Nonverbal)
    3. การสื่อสารแบบจักษุสัมผัส (การรับรู้หรือการมองเห็น)
รูปแบบการสื่อสาร
    1. การสื่อสารทางเดียว (One Way)
    2. การสื่อสารสองทาง  (Two Way)
ประเภทขอการสื่อสาร  5 ประเภท คือ
    1.การสื่อสารในตนเอง
    2. การสื่อสารระหว่าบุคคล
    3. การสื่อสารในกลุ่มย่อย
    4. การสื่อสารในกลุ่มใหญ่
    5. สื่อสารมวลชน (Mass Community)
เมื่อทำความเข้าใจการสื่อสารแล้ว  เราจะมองเห็นองค์ประกอบได้ทั้งหมด 6 อย่าง คือ
    1. ผู้ส่งสาร (Source)
    2. สาร (Massage)
    3. ผู้รับสาร (Receiver)
    4. สื่อ/ช่องทาง (Channel)
    5. ผลกระทบ (Effect)
    6 . ผลย้อนกลับ (Feedback)
ในระบบการสื่อสารบางครั้งก็ย่อมต้องมีอุปสรรค อุปสรรคที่มักจะเกิดขึ้นในระบบการสื่อสาร แบ่งได้ดังนี้
    1. คำพูด
    2. การเพ้อเจ้อ หรือฝันกลางวัน
    3. ถ้อยคำที่อาจขัดแย้ง หรือแสดงถึงการขัดแย้ง
    4. ระบบการรับรู้ที่จำกัด
    5. สภาพแวดล้อมรอบข้างไม่เอื้ออำนวยต่อการสื่อสาร
    6. การมีความเห็นไม่ลงรอยกัน

ตัวอย่างทฤษฏีการสื่อสารของลาสเวลล์ (เข้าใจง่าย)
    ลาสเวลล์ได้ใช้ทฤษฏีการสื่อสารแบบง่าย สามารถอธิบายและเข้าใจองค์รวมได้ เรียงเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
    1. ผู้ส่งสาร (ใคร)
    2. คำพูด (คำพูดที่แสดงออกมา)
    3. วิธีการนำเสนอข้อมูล
    4. ช่องทางที่่ข่าวสารถูกส่ง
    5. ผู้รับสาร (สารถูกส่งไปปลายทาง)
    6. ผลกระทบที่ตอบกลับจากผู้รับสาร

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความหมายของการออกแบบและการนำเสนออย่างสร้างสรรค์

1.ความหมายของการออกแบบ (Design)
    การร่างแผน การเตรียมงานในกระบวนการใดกระบวนการหนึ่งอย่างเป็นระบบเพื่อทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ในงานนั้นๆ 
2. ความหมายของการนำเสนอ (Presentation)
     การพูดหรือการสื่อสารผ่านช่องทางหลายรูปแบบต่างๆ เช่นการโน้มน้าวใจ การตัดสินใจ เพื่อให้ผู้ฟังได้มีโอกาสที่จะตัดสินใจเลือกผลงานที่เรานำเสนอ
3. ความหมายของการสร้างสรรค์ ( Creative)
     การผสมผสานแนวความคิดเดิมของเรา เข้ากับประสบการณ์การเรียนรู้ในอดีต มาประยุกต์ใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาตามเงื่อนไขต่างๆ เพื่อทำให้งานเกิดความแปลกใหม่ในผลงาน ทำให้ตอบโจทย์จากวัตถุประสงค์ของงานนั้นๆ 

ความสำคัญของการออกแบบและนำเสนออย่างสร้างสรรค์กับการพัฒนาชุมชน
      งานพัฒนาชุมชนถือเป็นงานที่ท้าทายมากสำหรับนักออกแบบที่มีความคิดสร้างสรรค์ เพราะการพัฒนาชุมชนคือการที่ต้องเข้าไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในทุกๆ ด้าน และการออกแบบ (Design) งานสำหรับโครงการพัฒนาชุมชนในรูปแบบต่างๆ จำต้องมีการนำเสนอเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่การนำเสนอที่ดีและก่อให้เกิดการพัฒนาขึ้นได้นั้น  ต้องเป็นการนำเสนอในมุมมองที่สร้างสรรค์เพื่อมาปรับใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น การออกแบบและนำเสนอผลงานอย่างสร้างสรรค์จึงเป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความจำเป็นและมีความสำคัญอย่างมากในงานพัฒนาชุมชน เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาที่เป็นไปอย่างยั่งยืน

นี่แหละ งานพัฒนาชุมชน!!!

         การพัฒนาชุมชนไม่ได้เป็นเพียงแค่การลงพื้นที่เพื่อหาจุดอ่อน หรือปัญหาของชุมชน แล้วดำเนินการแก้ปัญหาเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น การเข้ามารวมตัวกันเพื่อพูดคุย พบปะสื่อสารและหาวิธี หาทางออกร่วมกันของคนในท้องถิ่นเพื่อร่างแผนการพัฒนาชุมชนออกมา และร่วมกันแก้ปัญหาอย่างถูกวิธี นี่คือหนึ่งในเสน่ห์ของงานพัฒนาชุมชนที่ผมเลือกสรรมา
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานพัฒนาชุมชน